Long LiveThe King
ข้าพเจ้าไม่ได้มีพรสวรรค์พิเศษอะไร ข้าพเจ้าเพียงแต่มีความกระหายใคร่รู้อยู่เสมอ ทุ่มเทให้กับสิ่งที่อยากรู้ พากเพียรอย่างทรหด และสำรวจวิจารณ์ความรู้ของตัวเองเป็นประจำ ปัจจัยเหล่านี้คือที่มาของแนวคิดต่างๆ ของข้าพเจ้า .... อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิธีเปิด Mod Rewrite Apache บน Ubuntu Server

   การเปิด Mod Rewrite ให้กับ Apache2 ในบทนี้ผมใช้เพื่อให้
ไฟล์ .htaccess สามารถทำงานได้ เพื่อใช้งานในเรื่องอื่นๆต่อไป
พิมพ์คำสั่งนี้ลงไป

sudo a2enmod rewrite
service apache2 restart


จากนั้นก็ไปอนุญาติให้สามารถใช้งานได้ที่   /etc/apache2/sites-available/default
แก้ไขตามนี้

        <Directory /var/www/>
                Options Indexes FollowSymLinks MultiViews
                AllowOverride All
                Order allow,deny
                allow from all
        </Directory>

กด Crtl + X  ,กด Y ,กด Enter
restart apache อีกครั้ง

service apache2 restart

จอบอ ครับ (จบ)


Read More

Script Clear Cache On Ubuntu 12.04 LTS 64 Bit



    บทความนี้เป็นการแก้ปัญหาเครื่องลูกข่าย ไม่อัพเดทข้อมูลใหม่ๆของเว็บบน Server
เพราะว่าไปดึงเอา Cache จาก Server มาแสดงทุกครั้งที่เรียก ก็เลยต้องมีการลบแล้วสร้างใหม่
เพื่อให้เครื่องลูกข่ายไปดึงข้อมูลจากต้นฉบับมาใหม่
โดยจะเขียนเป็น Script หรือเขียนผ่าน Command line ก็ได้ครับ

script Clear Cache on Ubuntu12.04LTS
#cd /root
#nano clear-squid.sh
เพิ่มคำสั่งเหล่านี้เข้าไป
#!/bin/sh
/etc/init.d/squid3 stop
cd /var/spool/squid3/
rm -Rf *
squid3 -z
/etc/init.d/squid3 start
echo “Finish Of Clear Squid Cache”

จากนั้นกด Ctrl+o (โอ)
Enter
Ctrl+x

เข้าไปที่ /root
#cd /root
#sh clear-squid.sh
ตั้งค่า crontab  ให้คลียร์ cache เอง
#crontab -e
เพิ่มคำสั่งต่อไปนี้
PATH=/usr/sbin:/usr/bin:/sbin:/bin:/root
00      12      *       *       *       /root/clear-squid.sh

จากนั้นกด Ctrl+o (โอ)
Enter
Ctrl+x
———————————————————————————————–
หมายเหตุ สามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม

สำรับบทความนี้ตัว Script นำมาจาก http://csln2010.wordpress.com/2012/10/29/script-clear-cache-on-ubuntu-12-04-lts-64-bit/ ของคุณครูชาตรีออนไลน์



Read More

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิธีการค้นหา File จากคำบางคำ Ubuntu

เริ่ม
ผมต้องการค้นหาคำว่า blogger ใน /var/www

คำสั่ง

grep -R blogger /var/www



Read More

การสร้าง self-signed certificate บน Ubuntu server




เว็ปไซต์ยุคใหม่จึงหันมาใช้โปรโตคอล HTTPS ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ปรับปรุงขึ้นโดยรองรับการเข้ารหัส ทำให้มีความเชื่อมั่นสูงในการรับส่งข้อมูลระหว่าง บราวเซอร์ของผู้ใช้ และเซอร์เวอร์ ผ่านตัวกลางที่เราไม่ทราบว่าจะมีผู้ใดอาจดักจับข้อมูลของเราหรือไม่ เว็ปเซอร์เวอร์ปัจจุบันได้รองรับการทำงานในโปรโตคอลนี้อยู่แล้ว และการใช้งานก็เพียงแต่เซ็ตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มีประเด็นสำคัญอันหนึ่งก็คือ certificate ที่เราจะใช้ในการรับรองความถูกต้องที่มาของเว็ปไซต์ และใช้ในกระบวนการเข้ารหัสนั้น

   โดยปกติแล้วจะมีบริษัทที่รับดูแลในเรื่องนี้อยู่ และเราสามารถใช้บริการจากบริษัทเหล่านี้ได้ ซึ่งก็จะต้องเสียค่าบริการตามสมควร

   ในทางปฏิบัติ เราสามารถสร้าง certificate นี้ขึ้นมาเอง โดยเมื่อบราวเซอร์เข้าเรียกใช้เว็ปของเราในโปรโตคอล HTTPS ในครั้งแรก จะมีการเตือนให้ผู้ใช้ทราบว่า cerfiticate นี้มิได้รับรองโดยบริษัทที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง ดังนั้นผู้ใช้ต้องทำการติดตั้ง certificate นี้ด้วยตนเอง หรือเราอาจจะบอกข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่ใน certificate นั้นให้ผู้ใช้ตรวจสอบเองได้ก่อนทำการติดตั้ง และเมื่อผู้ใช้ติดตั้ง certificate ลงไปแล้ว ก็จะสามารถใช้งานเว็ปไซต์เดิมในภายหลังได้โดยไม่มีการร้องเตือนเรื่อง certificate อีก

เริ่มสร้าง certificate
ก่อนอื่น เราจะทำการสร้าง certificate สำหรับเว็ปเซอร์เวอร์ คอมพิวเตอร์ที่เราจะใช้สร้าง certificate จะต้องมี OpenSSL ติดตั้งอยู่ก่อนแล้ว ในกรณีที่ ใช้บนลินุกซ์ ดิสตริบิวชันปัจจุบันมักจะติดตั้งมาให้แล้ว และเราสามารถใช้ได้ทันที โดยขั้นตอนการใช้งาน openssl เพื่อสร้าง self-signed certificate มีดังนี้

openssl genrsa -des3 -out ชื่อเซอร์เวอร์.key 1024

ในที่นี้เรากำหนดการเข้ารหัสแบบ Triple-DES  และคีย์มีขนาด 1024 บิต ใน PEM format  เราจะต้องกำหนดชื่อเซอร์เวอร์ เป็นชื่อเซอร์เวอร์ของเว็ปไซต์ของเรา ตัวอย่าง

openssl genrsa -des3 -out nikhorn.blogger.com.key 1024

ถ้ามี server หลายตัวโดเมนเดียวกันก็ใส่ * ไว้หลัง -out ตัวอย่าง

openssl genrsa -des3 -out* nikhorn.blogger.com.key 1024



  โปรแกรม openssl จะแสดงข้อความมาในลักษณะดังนี้

Generating RSA private key, 1024 bit long modulus
............++++++
......................................++++++
e is 65537 (0x10001)
Enter pass phrase for ชื่อเซอร์เวอร์.key : ตรงนี้เราใส่รหัสผ่านลงไปอะไรก็ได้ครับ
Verifying Enter pass phrase for ชื่อเซอร์เวอร์.key : ใส่ยืนยันอีกครั้งหนึ่ง

จากนั้นก็ปลดพาสเวิร์ดออกจาก key ของเราเอง เนื่องจากในที่นี้ เราเป็นคนที่สร้างคีย์เอง เราก็ถือโอกาสปลดพาสเวิร์ดออกเสียเลย

openssl rsa -in ชื่อเซอร์เวอร์.key -out ชื่อเซอร์เวอร์.key

โปรแกรมจะทำการแสดงข้อความเพื่อให้เรายืนยันรหัสดังนี้

Enter pass phrase for ชื่อเซอร์เวอร์.key: ใส่รหัสผ่านลงไปครับ
writing RSA key

 


จากนั้นเราจึงสร้างไฟล์ CSR (Certificate Signing Request) ที่เราจะแทรกรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับเว็ปไซต์ของเราลงไป เพื่อในเวลาที่ผู้ใช้เปิดเว็ปของเรา จะสามารถตรวจสอบรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับเว็ปไซต์ของเราได้

openssl req -new -key ชื่อเซอร์เวอร์.key -out ชื่อเซอร์เวอร์.csr

โปรแกรมจะทำการสร้าง CSR ไฟล์ให้โดยมีการแสดงข้อความและถามข้อมูลเพิ่มเติม เราก็พิมพ์ข้อมูลต่อท้ายเครื่องหมาย : แล้วกด Enter ดังต่อไปนี้ครับ

You are about to be asked to enter information that will be incorporated
into your certificate request.
What you are about to enter is what is called a Distinguished Name or a DN.
There are quite a few fields but you can leave some blank
For some fields there will be a default value,
If you enter '.', the field will be left blank.
-----
Country Name (2 letter code) [GB]:ใส่รหัสประเทศลงไป ประเทศไทยคือ TH (ใส่ตัวอักษรใหญ่ครับ)
State or Province Name (full name) [Berkshire]:ใส่จังหวัด
Locality Name (eg, city) [Newbury]:ใส่ชื่อเมืองหรืออำเภอ
Organization Name (eg, company) [My Company Ltd]:ใส่ชื่อองค์กรของเว็ปไซต์ 
Organizational Unit Name (eg, section) []:ใส่ชื่อหน่วยงาน
Common Name (eg, your name or your server's hostname) []:ใส่ชื่อเซอร์เวอร์เลยครับ อย่างเช่น nikhorn.blogspot.com
Email Address []:ใส่อีเมลแอดเดรสสำหรับให้ติดต่อสอบถาม

Please enter the following 'extra' attributes
to be sent with your certificate request
A challenge password []: ในกรณีที่เราต้องการให้ผู้ใช้กรอกพาสเวิร์ด เราจะต้องใส่ที่นี่่ด้วยครับ  ปกติเราจะปล่อยว่างไว้ (กด ENTER ต่อไปเลยครับ)
An optional company name []: หากต้องการใส่รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทอีกเล็กน้อย ก็ใส่ได้ ปกติผมจะปล่อยว่างไว้



สร้าง Self-signed certificate เพื่อไว้ให้บราวเซอร์มาอ่านไป เราใช้คำสั่งดังนี้

openssl x509 -req -days จำนวนวันก่อนหมดอายุนับจากวันที่สร้าง -in ชื่อเซอร์เวอร์.csr -signkey ชื่อเซอร์เวอร์.key -out ชื่อเซอร์เวอร์.crt

ตัวอย่าง

openssl x509 -req -days 365 -in nikhorn.blogspot.com.csr -signkey nikhorn.blogspot.com.key -out nikhorn.blogspot.com.crt

โปรแกรมจะทำการสร้างไฟล์ CRT ให้เรา เป็นอันเรียบร้อย
จากนั้นให้ทำการ coppy ไฟล์ทั้งสองไปเก็บไว้ในแฟ้ม ssl ด้วยคำสั่ง

cp nikhorn.blogspot.com.key /etc/apache2/ssl  
cp nikhorn.blogspot.com.crt /etc/apache2/ssl

จากนั้น เราจะทำการเซ็ตเว็ปเซอร์เวอร์ให้ทำการอ่าน certificate ที่เราสร้างขึ้นนี้ สำหรับเว็ปเซอร์เวอร์ Apache บนลินุกซ์นั้น ไฟล์ที่เราต้องแก้ไขคือ default-ssl พิมพ์คำสั่ง

 nano /etc/apache2/sites-available/default

ให้มองหาพารามิเตอร์สองตัวต่อไปนี้คือ SSLCertificateFile และ SSLCertificateKeyFile และแก้เป็นดังนี้

SSLCertificateFile ไดเรกตอรีและชื่อไฟล์.crt
SSLCertificateKeyFile ไดเรกตอรีและชื่อไฟล์.key 

ตัวอย่าง

SSLEngine On 
SSLCertificateFile /etc/apache2/ssl/nikhorn.blogspot.com.crt
SSLCertificateKeyFile /etc/apache2/ssl/nikhorn.blogspot.com.key

 จากนั้นลองรีสตาร์ด Apache ใหม่เสียเลยนะครับ ถ้า Apache สามารถเริ่มทำงานได้โดยไม่ร้องไม่บ่น แสดงว่า ใช้ได้แล้วครับ

บทความนี้ได้ทำการแก้ไขดัดแปลงข้อมูลบางส่วนจาก  http://thanwa.cpe.mut.ac.th/howto/certificate/

ข้อมูลอ้างอิง
http://thanwa.cpe.mut.ac.th/howto/certificate/
http://www.fourleaftechnology.com/index.php/HowTo/how-to-generate-a-self-signed-ssl-certificate-in-ubuntu.html
Read More

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การ ตั้งเวลา reboot ด้วย crontab บน CentOS + Ubuntu

รูปแบบสั้นๆสำหรับ Centos

วิธีที่ 1 วิธีที่ 2
nano /etc/crontab
crontab -e

พิมพ์ 0 3 * * * /sbin/reboot

/etc/rc.d/init.d/crond restart
/sbin/chkconfig crond on
nano /etc/crontab
crontab -e
พิมพ์ 0 3 * * * /sbin/shutdown -r now

/etc/rc.d/init.d/crond restart
/sbin/chkconfig crond on


รูปแบบสั้นๆสำหรับ Ubuntu

วิธีที่ 1 วิธีที่ 2
crontab -e
กด เลือก 2 ถ้าใช้ nano
พิมพ์ 0 3 * * * /sbin/reboot.sh
crontab -e
กด เลือก 2 ถ้าใช้ nano
พิมพ์ 0 3 * * * /sbin/reboot


หมายเหตุ :  0 3 * * * /sbin/reboot  (เราจะให้ Server Reboot ทุกวันตอนตี 3)

ที่มา http://bunyiam.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2526


รายละเอียดเพื่อทำความเข้าใจ

คำสั่ง crontab เป็นคำสั่งในการทำ schedule ในการสั่งโปรแกรม หรือ script ต่างๆ ทำงานตามเวลาที่กำหนด บนระบบ UNIX/LINUX

ซึ่งอำนวยความสะดวกได้มากเลยที่เดียว งานบางอย่างที่จำเป็นต้องทำซ้ำๆในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือ ทุกเดือน
การใช้งาน crontab
------------------------
คำสั่งและ option ของ crontab มีดังนี้
Code:
crontab filename การนำเอาคำสั่ง crontab เข้ามาจาก ไฟล์อื่น
crontab -e แก้ไข crontab ปัจจุบัน
crontab -l ดูคำสั่ง crontab ทั้งหมดที่มีอยู่
crontab -r ลบคำสั่ง crontab ที่มีทั้งหมด
crontab -u user เป็นคำสั่งของผู้ดูแลระบบเท่านั้น(administrators) เพื่อใช้ดู แก้ไข ลบ crontab ของ user แต่ล่ะคน
เมื่อเรียกคำสั่งตามข้างบนแล้ว crontab จะเข้าสู่ระบบการ กำหนด หรือ แก้ไข ซึ่งการ กำหนด หรือแก้ไขนี้ จะเหมือนกับการใช้งาน vi ครับ
การกำหนดให้ crontab ทำงาน
-------------------------------------
format ของคำสั่ง crontab มีทั้งหมด 6 fields เป็นดังบรรทัดข้างล่าง
Code:
minute(s) hour(s) day(s) month(s) weekday(s) command(s)
fields 1-5 เป็นการกำหนดเวลา และ field ที่ 6 เป็นการกำหนดคำสั่ง ดังความหมายของแต่ละ fields ดังต่อไปนี้
Code:
........................................................................................................................................
Field มีค่า รายละเอียด
........................................................................................................................................
minute 0-59 เวลาเป็นนาที จะสั่งให้คำสั่งที่กำหนดทำงานทันทีเมื่อถึง
hour 0-23 เวลาเป็นชั่วโมง จะสั่งให้คำสั่งที่กำหนดทำงานทันทีเมื่อถึง
day 1-31 เวลาเป็นวัน จะสั่งให้คำสั่งที่กำหนดทำงานทันทีเมื่อถึง
month 1-12 เวลาเป็นเดือน จะสั่งให้คำสั่งที่กำหนดทำงานทันทีเมื่อถึง
weekday 0-6 วันของแต่ละสัปดาห์ มีค่าดังนี้ (อาทิตย์ = 0, จันทร์ = 1, อังคาร = 2, พุธ = 3, พฤหัส = 4, ศุกร์ = 5 และ เสาร์ = 6)
command คำสั่ง เราสามารถกำหนดคำสั่งได้มากมาย รวมทั้ง script ต่างๆ ตามที่เราต้องการ
........................................................................................................................................
ตัวอย่างการกำหนด crontab
---------------------------------
การ เพิ่ม crontab โดยเรียกใช้คำสั่ง crontab -e เมื่อเข้าสู่โปรแกรมแล้ว กด i เพื่อเพิ่ม คำสั่งดังตัวอย่างด้านล่างนี้เข้าไป แล้วทำการบันทึกแล้วออกมาโดยกด Esc แล้วกด :wq!
Code:
0 12 * * * /etc/python.py
จากคำสั่งด้านบนจะเป็นการสั่งให้รัน script python.py ตอน 12:00 น. ของทุกๆวัน
Code:
0 12 * * 1 /root/wifilogs.py
จากคำสั่งด้านบน จะทำการ Run script getlogs.pl ที่ path /home/tuxzilla ทุกวันจันทร์ ทุกๆเดือน ตอนเที่ยง
Code:
0 0 * * 1,2 / root/wifilogs.py
คำ สั่งนี้เหมือนคำสั่งด้านบนครับ แต่จะเพิ่มการทำงานในวันอังคารด้วย ซึ่งเราสามารถใช้ "," คั่นไปเรื่อยๆได้ เพื่อที่จะกำหนดเพิ่มให้แต่ล่ะ fields หรือใช้ "*"
เพื่อการกำหนดเป็นทั้งหมด(หมายความว่า หากที่ field ชั่วโมง เป็น * ก็หมายความว่าต้องทำงานทุกชั่วโมง)
ถึง จะมีหลาย user ในเครื่องเดียวกันแต่ยังไง crontab ก้ยังเป็นของใครของมันไม่กวนกันครับ และไม่สามารถดูของกันและกันได้ นอกจากเป็น ผู้ดูแลระบบครับ ถึงตรงนี้แล้วก็คงไม่มีอะไรยากเกินกว่าแล้ว หากแต่ความสะดวกเท่านั้นที่จะมาแทนที หรือใครจะเอามาเป็นนาฬิกา อย่างผมก็ไม่ว่าครับ

ที่มา http://sabaylinux.blogspot.com/2009/07/crontab.html

Read More

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีติดตั้ง Ubuntu บน Oracle VM VirtualBox



อูบุนตู (Ubuntu) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others" อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 13.4 ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีเกือบทั้งหมด(มีบางส่วนที่เป็นลิขสิทธิ์ เช่น ไดรเวอร์) โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้ (http://th.wikipedia.org/wiki/อูบุนตู)

ก่อนอื่นไปดาวน์โหลด Ubuntu ก่อนตามระเบียบครับ Download Ubuntu เลือกเวอร์ชั่นใหนก็ได้ครับ ถ้าต้องการดาวน์โหลดฟรีให้เลือก Not now, take me to the download

1. เปิดโปรแกรม Oracle VM VirtualBox ขึ้นมาก็คลิกไปตามลำดับภาพเลยครับ




2. ตั้งชื่อ และเลือกระบบปฏิบัติการ




3. ตั้งค่าแรม ถ้ามีแรมเยอะก็ตั้งเป็น 1024 MB. ไปเลยครับจะได้ทำงานเร็วๆ




4. เลือกจำลองฮาร์ดดิส






5. ถ้าต้องการกำหนดพื้นที่ฮาร์ดดิสเองก็ให้เลือก Fixed size




6. กำหนดขนาดเนื้อที่ฮาร์ดดิสที่ต้องการ




7. เลือก Settings




8. กดเลือกไปตามหมายเลขเพื่อที่จะ mount iso ระบบปฎิบัติการที่เราดาวน์โหลดมา





9. เลือกระบบปฎิบัติการ




10. กด Start เพื่อติดตั้ง




11. กด Install





12. เลือกตามรูป แล้วกด Continue





13. ส่วนนี้ไม่ต้องตกใจครับ ไม่ได้ล้างฮาร์ดดิสทั้งหมดของเรา แต่ล้างเฉพาะพื้นที่ส่วนที่ VirtualBox สร้างไว้เท่านั้นครับ กด Continue





14. เลือกทำเลและภาษา







15. ตั้งชื่อ และ พาสเวิร์ด





16. ถึงตรงนี้ก็รอครับ อาจจะนานหน่อยแล้วแต่ความเร็วของเครื่อง ถ้าต่อเน็ตก็รวมทั้งความเร็วเน็ตด้วยครับ






พอติดตั้งเสร็จแล้วก็ปิดโปรแกรมไปก่อน แล้วเปิดขึ้นมาใหม่ก็กด Start เลยครับโปรแกรมก็จะรันระบบปฎิบัติการ
แล้วก็จะได้ตามภาพนี้ครับ แต่น..แต๊น....





เหมือนเดิมครับผม บทความนี้ก็จบเพียงเท่านี้ มีอะไรผิดพลาดก็ต้องขอ อภัยด้วยครับ....



Read More

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีการติดตั้งโปรแกรม Oracle VM VirtualBox



Virtual Box นี้เป็นโปรแกรมประเภท Virtual Machine คือโปรแกรมที่มีไว้จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เราเอาไว้ ติดตั้ง ระบบปฏิบัติการในนั้นได้ครับ โดยจะไม่ส่งผลต่อระบบปฏิบัติการ เดิมที่มีอยู่ในเครื่องอยู่แล้ว อย่างเช่นเราใช้ window7 อยู่และอยากจะลองใช้ windows8 ,XP หรือ linux แต่ไม่อยากลบ window7 ทิ้ง หรือไม่อยากแบ่ง partition เพิ่อลง linux เราก็ใช้ Virtual Box ในการลง windows8 ,XP หรือ linux แทนได้โดยไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อ window ที่มีอยู่ก่อนแล้ว โดย Virtual Box นี้จะใช้พื้นที่ ฮาร์ดดิสที่ว่างอยู่ในการติดตั้ง linux โดยไม่รบกวนระบบ partition ของเดิมแต่อย่างใด ทำให้เราสามารถใช้ระบบปฏบัติการอื่นๆ เสมือนว่าเป็นโปรแกรมหนึ่งบน windows ของเราเลยทีเดียวครับ

ก่อนอื่นไปดาวน์โหลดโปรแกรมก่อนครับ Download Virtual Box
ท่านก็จะได้ icon มาประมาณนี้



1. พอดับเบิ้ลคลิกขึ้นมาก็จะเข้าสู่หน้าติดตั้งครับ คลิก Next





2. ถึงหน้านี้ท่านจะตั้งค่าให้ติดตั้งหรือไม่ให้ติดตั้งอะไรก็ตามสะดวกครับ ส่วนผมคลิก Next อย่างเดียวเลยครับ





3. ถึงหน้านี้ก็ให้เลือกว่าจะสร้าง Shortcut หรือไม่จากนั้นคลิก Next ครับ





4. ถึงหน้านี้คลิก Yes ไปครับ





5. คลิก Install เพื่อทำการติดตั้ง





6. รอให้โปรแกรมติดตั้งซึ่งใช้เวลาไม่นานครับ





7. พอเสร็จแล้วก็จะขึ้นอีกหน้าหนึ่ง คลิก Finish ครับ เปิดโปรแกรมขึ้นมาก็จะได้ตามรูปนี้ครับ





เสร็จแล้วสำหรับการลงโปรแกรม Oracle VM VirtualBox ในบทความถัดไปจะเป็นวิธีการใช้งานครับ
เหมือนเคยสำหรับบทความนี้หากผิดพลาดยังไง ต้องขออภัยด้วยครับ



Read More

© Ubuntu, AllRightsReserved.

ขับเคลื่อนโดย Blogger Designed by Nikhorn Thongchuay